หลวงปู่แวกาย พนฺธสาโร
ผู้สืบสานตำนาน “ไสยเวท นครวัด” ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์แห่งอาณาจักรขอม
หลวงปู่แวกาย พนฺธสาโร เกิดวันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2475 ปีจอ ปัจจุบันอายุ 74 ปี เป็นชามกัมพูชาโดยกำเนิด บิดา-มารดา ประกอบอาชีพทำนา บิดาของท่านเป็นอาจาย์ทางไสยเวทที่เก่งท่านหนึ่งในกัมพูชา ด้วยเหตุนี้หลวงปู่แวกายท่านจึงสนใจใฝ่รู้ในวิชาอาคมต่าง ๆ จากบิดา ความสนใจใฝ่รู้ตั้งแต่เยาว์วัยทำให้ท่านมีพื้นฐานในวิชาอาคม ท่านได้จดอักขระยันต์ประตูนครวัดมาศึกษาจนสำเร็จและเข้าใจ หลวงปู่เรียกยันต์นี้ว่า “ยันต์อาถรรพ์” ปัจจุบันแผ่นยันต์นี้ได้ถูกขโมยไป ยันต์อาถรรพ์นี้หลวงปู่ว่าศักดิ์สิทธิ์นัก เพราะเป็นต้นกำเนิดของวิชาอาคมต่าง ๆ
หลวงปู่สำเร็จวิชาอาคมหลายอย่างจากบิดาท่านด้วยวัยเพียง 18 ปี ปีพ.ศ. 2495 ท่านได้อุปสมบทและจำพรรษาที่ วัดอำปึล จังหวัดอุดรมีชัย ท่านได้เพิ่มความเพียรในการปฏิบัติธรรม โดยการออกธุดงค์ขึ้นไปบนเขากิเลน สถานที่ซึ่งถือเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธ์ การธุดงค์ครั้งนั้นท่านได้พบพระอาจารย์หลายรูปด้วยกัน แต่ละท่านล้วนเก่งหล้าในวิชาอาคม การใช้ชีวิตในถ้ำเขากิเลนเป็นไปด้วยความยากลำบาก พระคณาจารย์หลายท่านต้องจบชีวิตลงจากไข้ป่าที่ชุกชุมหรือสัตว์ป่าที่ดุร้าย รวมทั้งภูตผี ปีศาจ และผู้มีวิชาอาคมด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุสงฆ์หรือนักสิทธิ์วิทยา, พระฤาษี, นักพรตนุ่งขาวห่มขาว บางส่วนที่มีมิจฉาทิฐิชอบทดสอบวิชาอาคมซึ่งกันและกันว่าท่านทั้งหลายที่สามารถธุดงค์มายังเขากิเลนได้นั้นจะต้องมีวิชาอาคมพอที่จะรักษาตัวท่านให้รอดปลอดภัยกลับไปได้หรือไม่ พระผู้ปฏิบัติดีหลายท่านที่วิชาอาคมยังไม่แก่หล้าพอต้องมรณภาพลง ณ เขากิเลนแห่งนี้ พบ “หลวงปู่สรวง” ที่ถ้ำเขากิเลน ชาวบ้านเรียกท่านว่า “หลวงปู่แคลง” หลวงปู่แวกาย ได้ถวายตัวเป็นศิษย์และร่ำเรียนวิชาอาคมจากหลวงปู่สรวงจนสำเร็จ หลวงปู่แวกายท่านธุดงค์อยู่ป่าเป็นเวลานับสิบปี เมื่อได้พรรษามากวิชาอาคมของท่านก็แกร่งกล้ามากขึ้นตามลำดับ การธุดงค์ครั้งนี้ท่านได้ทั้งธรรมะและวิชาอาคมจนเป็นที่พอใจ
กระทั้งปี พ.ศ. 2509 ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่ วัดอำปึล จังหวัดอุดรมีชัย ในช่วงเวลานั้นบ้านเมืองของท่านอยู่ระหว่างเกิดสงครามกลางเมือง ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากสงครามอินโดจีนเป็นการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกลุ่มสองฝ่าย ประชาชนอดอยากแร้นแค้น สงครามกลับทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างไม่มีทีท่าว่าจะสงบ พร้อมกันนั้นรัฐบาลได้สั่งการอนุญาตให้สหรัฐนำระเบิดมาทิ้งทำลายประชาชนอย่างไม่ปราณี การกลับมาของหลวงปู่แวกายจึงเหมือนเป็นความหวังที่พึ่งสุดท้ายของทหารและประชาชน ทุกนาทีชีวิตของทุกคนมีแต่อันตรายรอบด้านทั้งที่เป็นบ้านเกิดของตน ดังนั้นจึงเป็นที่โจทย์ขานกันเรื่องเครื่องรางของขลัง ของหลวงปู่แวกาย ว่าแคล้วคลาดปลอดภัย อีกวิชาที่ชาวบ้านรวมทั้งทหารยอมรับและนิยมคือ การลงทองพร้อมทั้งการลงอักขระทั้งตัว กล่าวกันว่าผู้ใดที่หลวงปู่ ลงทองให้ไม่มีตายเพราะถูกกระสุนปืนหรือเหยียบกับระเบิดสักคน กระทั้งวัว, ความหรือลูกหลานที่ท่านเป่าหัวให้เหยียบกับระเบิดแต่ไม่ระเบิดสักลูก หรือถูกยิงแต่ไม่เป็นอะไร
ชาวบ้านและทหารศรัทธาหลวงปู่แวกายมาก วัตถุมงคลของหลวงปู่ทุกแบบ เช่น ตะกรุด, ผ้ายันต์ ได้รับความนิยมจนเป็นที่กล่าวขานกันอย่างกว้างขวางผู้คนเดินทางมากราบท่านเพื่อขอของดีวันแล้ววันเล่า
ท่านได้เดินทางมาประเทศไทยและจำพรรษาที่ วัดตาอี จ.บุรีรัมย์ หลวงปู่มีพระสหายอยู่ที่ วัดตาอี คือหลวงปู่ชื่น หลวงปู่แวกายได้จำพรรษาที่ วัดตาอี หลายพรรษได้ช่วยหาเงินสร้างโบสถ์ วัดตาอี จนแล้วเสร็จ ปี พ.ศ. 2545 หลวงปู่แวกายได้มาพักที่วัดช่องลมมหาชัย อยู่ประมาณ 3 เดือน และอีกหลายวัดในประเทศไทย เช่น วัดน้อยนางหงส์มหาชัย, วัดแค สมุทรปราการ, กลับวัดตาอี อีกครั้ง, จากนั้นท่านมาพักที่วัดแจ้ง นนทบุรี ปี พ.ศ. 2547 ท่านได้มาจำพรรษาที่วัดรวกบางสีทอง จนกระทั้งปัจจุบัน และครั้งนี้หลวงปู่ได้เมตตาช่วยเหลือในการสร้างวัตถุมงคลเพื่อนำปัจจัยบูรณะเสนาสนะวัดรวกบางสีทอง ที่ชำรุดทรุดโทรมลง ด้วยการปลุกเสกวัตถุมงคล รุ่น “ไสยเวท นครวัด” เป็นเวลา 1 ไตรมาส
ปัจจุบันหลวงปู่แวกายท่านได้ใช้วิชาการสะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา เสริมดวง แก้คุณไสย ขับไล่ภูตผี ดูดวงและอีกหลาย ๆ อย่างทั้งด้านนามธรรมและรูปธรรม เพื่อช่วยเหลือคณะศิษย์ที่อยูที่วัดรวกบางสีทอง หลวงปู่บอกว่า “มนุษย์ต่างมีกรรมเป็นของตัวมากบ้านน้อยบ้าน ต่างวาระกัน ส่วนใหญ่มาเพราะเกิดทุกข์ ให้ท่านช่วยแก้หลวงปู่ท่านทราบดีว่าไม่มีสิ่งใดจะแทนวิบากกรรรมได้แต่เราสามารถหนีได้ด้วยการหมั่นสร้างกรรมดีให้มากเมื่อกรรมดีมีมากวิบากกรรมก็ตามไม่ทันเพราะฉะนั้นการที่เรามีเครื่องรางของขลังหรือพระดีติดตัวช่วยคุ้มครองแคล้วคลาดก็ควรมีสติเตือนตัวเองหากเราหยุดสร้างกรรมดีเมื่อไหร่วิบากกรรมตามทันเมื่อนั้น และเกิดเป็นคนให้รู้คุณบิดามารดา ท่านคือพระองค์แรกที่ทำมงคลให้เกดที่บ้านก่อน แล้วจึงค่อยแสวงหามงคลที่พระ อย่ารอเวลาที่จะทำความดีกับบิดามารดาเมื่อท่านยังมีชีวิตความกตัญญูกตเวทิตาคือสัญลักษณ์ของคนดี”