รายละเอียดสินค้า พระบูชารุปเหมือน หลวงปู่หมุน ขนาด ๙ นิ้ว รุ่น “ มหาสมปรารถนา” ออกวัดซับฯ ปี 43 เนื้อสัมฤทธิ์ ์No.88
วัตถุมงคล รุ่น "มหาสมปรารถนา" ออกวัดซับลำใย ปี ๒๕๔๓ พุทธาภิเษก ๒ วาระ
พระอาจารย์ สมุห์ภาสน์ มงคลสงโฆ ศิษย์เอกของหลวงพ่อกวย ชุตินธโร ผู้บุกเบิกสร้าง วัดซับลำไย จนมีที่ดินของวัดเกือบร้อยไร่ สร้างวิหารถวายหลวงพ่อกวย ผู้เป็นอาจารย์ จนใกล้เสร็จ และได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล จนได้รับความเมตตาจากหลวงปู่หมุนหลาย ๆ อย่าง และด้วยความกตัญญูในครูบาอาจารย์ หลวงปู่หมุน ที่พระอาจารย์ให้ความเคารพมาก ในวันที่ 3 กันยายน 2543 ที่วัดซับลำใยจะได้ทำพิธีเททอง เบิกฤกษ์ สร้างรูปหล่อหลวงปู่หมุน เท่าองค์จริงขึ้น พร้อมสร้างพระกริ่ง วัตถุมงคลอื่น ๆ ในเอกลักษณ์ของหลวงปู่หมุน ตามที่หลวงปู่หมุน ท่านได้กล่าวกับพระอาจารย์สมุห์ภาสน์ ผู้เป็นศิษย์ก่อนสร้างวัตถุมงคลรุ่นมหาสมปรารถนาว่า……
“ นี่คุณสมุห์ภาสน์ ฉันจะอนุญาตให้คุณ ได้สร้างวัตถุมงคลของฉัน เพราะฉันเห็นแก่คุณสมุห์ฯ ที่สร้างวิหารเทิดพระเกียรติยังไม่เสร็จ อีกอย่างคุณสมุห์ฯ อยู่เบื้องหลังสร้างพระให้คนอื่นเขาสำเร็จมามากแล้ว ถึงตัวเองบ้างก็ยังไม่ทำอะไรขึ้น ”
หลวงปู่หมุน กล่าวเมื่องานยกช่อฟ้า วิหารที่วัดซับลำใย ซึ่งในตอนนั้น พระอาจารย์สมุห์ภาสน์ ก็ได้กราบเรียนหลวงปู่หมุน ไปว่า “หลวงปู่ขอรับ กระผมไม่มีเงินทุนพอที่จะจัดสร้างวัตถุมงคลต่าง ๆ ตามที่หลวงปู่เมตตาแนะนำให้เลยขอรับ “มีซิฉันจะให้เธอสมปรารถนาทุกอย่างนั่นแหละ” (หลวงปู่หมุนกล่าวอย่างมั่นใจ) และนี่คือเป็นที่มาของการจัดสร้างวัตถุมงคลของหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล พระผู้มีประกาศิตต่าง ๆ ในตัว ซึ่งวัตถุมงคลต่าง ๆพระสมุห์ภาสน์ มังคลสังโฆ (อาจารย์ตั้ว) วัดซับลำใย ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อสมทบทุนสร้าง วิหารหลวงพ่อกวย ชุตินธโธ และเสนาสนะภายในวัด
๒. เพื่อเป็นทุนถมดินบริเวณสถานที่ปฏิบัติธรรมวัดซับลำใย
๓. เพื่อเป็นทุนสร้างกุฏิสงค์ภายในวัดซับลำใย และทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ขาดแคลน
วาระที่ ๑ วิหารวัดซับลำใยสามัคคีธรรม หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล ประธานในพิธี
วันอาทิตย์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ เวลา ๑๙.๑๙ - ๒๑.๓๙ น.
วาระที่ ๒ วิหารวัดระฆังโฆสิตาราม หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล ประธานในพิธี
วันอาทิตย์ที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๓ เวลา ๑๘.๕๙ - ๒๒.๕๙ น.
พระเกจิที่มาร่วมอธิฐานจิตปลุกเสก
หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน สำนักสวนสมุนไพร อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วัดเพชรบุรี อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโน วัดหลวงราชาวาส ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี
หลวงพ่อกริช วัอรัญญวาสี อ.หันดา จ.ชัยนาท
หลวงปู่พูล วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครปฐม
หลวงปู่ไสว วัดปริดาราม อ.สามพราน จ.นครปฐม
พระอาจาย์สมพงษ์ วัดใหม่ปีนเกลียว อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
หลวงพ่อเก๋ วัดปากน้ำ อ.เมือง จ.นนทบุุรี
หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี
หลวงพ่อสิริ สิริวัฒฑโณ วัดตาล อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
หลวงพ่อทิม วัดพระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา
พระอาจารย์วิชัย เขมิโย วัดถ้ำผาจม อ.แม่สาย จ.เชียงราย
หลวงปู่ฤทธิ์ รตนโซโต วัดชลประทานราชดำริ จ.บุรีรัมย์
หลวงพ่อผล กาญจโณ วัดเนินทองวราราม อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี
พระอาจารย์เทพ ฐาวโน วัดท่าแค อ.เมือง จ.ลพบุรี
หลวงปู่หลุย วัดราชโยธา มีนบุรี กรุงเทพมหานคร
พระอาจารย์สินชัย วัดถ้ำ อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี
พระอาจารย์ไพรินทร์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
หลวงปู่เคน สุภโร วัดประชาบำรุง ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม
หลวงพ่อเพี้ยน อคคธมโม วัดเกริ่นกฐิน อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี
พระอาจารย์เกษมสุข เขมสุโข วัดประดู่ธรรมมาธิปัตย์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อหลี วัดศรัทธาธรรม
จำนวนวัตถุมงคลที่จัดสร้าง รุ่น "มหาสมปรารถน" มีดังรายการต่อไปนี้
๑. พระบูชาไพรีพินาศ ขนาดบูชา ๙ นิ้ว เนื้อสมฤทธิ์ จำนวนสร้าง ๙ องค์
๒. พระบูชารุปเหมือน
๒.๑ ขนาดบูชา ๙ นิ้ว เนื้อสมฤทธิ์ จำนวน สร้าง ๑๐๘ องค์
๒.๒ ขนาดบูชา ๕ นิ้ว เนื้อสมฤทธิ์ จำนวนสร้าง ๑๐๘ องค์
๓. พระกริ่ง
๓.๑ พระกริ่ง เนื้อนวโลหะ ไม่ตัดช่อ
๓.๒ พระกริ่ง เนื้อนวโลหะ จำนวนสร้าง ๕๐๐ องค์
๔. พระชัยวัฒน์ เนื้อนวโลหะ จำนวนสร้าง ๕๐๐ องค์
๕. รูปหล่อเหมือน ขนาด ๑.๕ นิ้ว เนื้อทองเหลีองและเนื้อสัมฤทธิ์ จำนวนสร้าง ๑,๐๐๐ องค์
๖. รูปหล่อเหมือน ลอยองค์ เนื้อนวโลหะ จำนวนสร้าง ๑,๐๐๐ องค์
๗. เหรียญเสมา
๗.๑ เนื้อเงิน หน้ากากเงิน ฉลุเงินลงยา (๓ ชิ้นประกบ) จำนวนสร้าง ๖๐ เหรียญ
๗.๒ เนื้อนวโลหะ หน้ากากเงิน ฉลุเงินลงยา (๓ ชิ้นประกบ) จำนวนสร้าง ๖๐ เหรียญ
๗.๓ เนื้อเงิน (ลงยาร้อน) จำนวนสร้าง ๘๕ เหรียญ
๗.๔ เนื้อเงิน (ลงยาเย็น) จำนวนสร้าง ๓๐๐ เหรียญ (รันเลขต่อเนื่องมา)
๗.๕ เนื้อนวโลหะ (ลงยาร้อน ขาว-แดง) จำนวนสร้าง ๓๐๐ เหรียญ (มีฟร้อนเลขลงยาร้อนและลงยาเย็น)
๗.๖ เนื้อทองแดง (บล็อกแตก ลงยา ๗ โค๊ต) จำนวนสร้าง ๖๗๖ เหรียญ
๗.๗ เนื้อทองแดง จำนวนสร้าง ๑๐,๐๐๐ เหรียญ
๗.๘ เนื้อเงิน (ลงยาร้อน) จำนวนสร้าง ๒๐๐ เหรียญ (ตอก ๑ โค๊ต ออกใหบูชาที่วัดศรัทธาธรรม)
๗.๙ เนื้อนวโลหะ (ลงยาร้อน) จำนวนสร้าง ๓๐๐ เหรียญ (ตอก ๑ โค๊ต ออกใหบูชาที่วัดศรัทธาธรรม)
๘. เหรียญเม็ดยา
๘.๑ เนื้อทองคำ ในรายการสร้าง ๙๙ เหรียญ (สร้างจริง ๑๙ เหรียญ)
๘.๒ เนื้อเงิน ในรายการสร้าง ๑,๐๐๐ เหรียญ (สร้างจริง ๓๐๐ เหรียญ)
๘.๓ เนื้อทองแดง จำนวนสร้าง ๒๐,๐๐๐ เหรียญ
๙. พระสมเด็จหลังลายเซ็นต์
๙.๑ เนื้อดำ จำนวนสร้าง ๕๐๐ องค์
๙.๒ เนื้อขาว จำนวนสร้าง ๒,๐๐๐ องค์
๑๐. พระสมเด็จหงส์ทอง
๑๐.๑ เนื้อว่านดอกไม้ทอง (ฝังตะกรุดทองคำ) จำนวนสร้าง ๓,๐๐๐ องค์
๑๐.๒ เนื้อว่านดอกไม้ทอง (ไม่ฝังตะกรุด) จำนวนสร้าง ๑๐,๐๐๐ องค์
๑๑. บาตรน้ำมนต์ หลวงพ่อกวย จำนวนสร้าง ๑๐๘ ใบ
๑๒. รูปหล่อครึ่งซีก หลวงพ่อกวย บาตรน้ำมนต์ จำนวนสร้าง ๒๐,๐๐๐ องค์
๑๓. มีดหมอ สาริกา ด้ามงา ฝักงา ทอง เงิน นาค ๓ กษัตริย์ จำนวนสร้าง ๑,๐๐๐ ด้าม
๑๔. มีดหมอ ๓ ใบมีด ด้ามไม้มะขาม ฝักไม้มะขาม จำนวนสร้าง ๕๐ ด้าม
๑๕. ชูชก งาแกะ ติดโค๊ตทองคำ รายการจอง ๑,๐๐๐ องค์ (จำนวนสร้างจริง ๙๙ องค์)
๑๖. ชูชก ไม้ขนุนแกะ ติดโค๊ตทองคำ รายการจอง ๑,๐๐๐ องค์ (จำนวนสร้างจริง ๓๐๐ องค์)
๑๗. สิงห์ งาแกะ รายการจอง ๑,๐๐๐ องค์ (จำนวนสร้างจริง ๙๙ องค์)
๑๘. ผ้ายันต์ หลวงพ่อกวย จำนวนสร้าง ๑๐,๐๐๐ ผืน
๑๙. ถุงธนโภคทรัพย์ จำนวนสร้าง ๑,๐๐๐ ถุง
วาจาสิทธิ์ของหลวงปู่หมุน ที่ได้กล่าวไว้ก่อนละสังขาร ซึ่งลูกศิษย์และชาวบ้านต่างจดจำได้ติดหู คือ…” ของๆ ฉันสร้างเองกับมือ ใครมีไว้บูชาจะ หมุนโชคหมุนลาภ ทำมาค้าขึ้น ไม่มีวันจน ประกอบสัมมาอาชีพใดก็รุ่งเรือง เจริญลาภยศสรรเสริญ จะมีชื่อเสียงหอมขจรขจาย ขอให้เป็นคนดี คิดดี ทำดี ละเว้นชั่ว คุณพระจะรักษา เทวดาจะคุ้มครอง แม้นว่าฉันจะตายไป ของๆ ฉันจะขลังกว่านี้อีกหลายๆเท่า น้ำลาย ไอปาก ลมปราณที่ประจุลงไป ด้วยพลังจิตอันเข้มขลังของฉัน ย่อมเป็น หนึ่งบ่เป็นสอง ครบเครื่องเป็นองค์พระ ที่ดีทั้งนอก ดีทั้งใน ฝากไว้ในแผ่นดิน ให้เลื่องชื่อลือนาม ลือเรื่องถึงเมืองแมน ”
หลวงปู่หมุน ท่านกำเนิดเมื่อ พศ. ๒๔๓๗ – ๒๕๔๖ อายุยืนถึง ๑๐๙ ปี พระเครื่องของท่านออกมา ช่วงบั้นปลายชีวิต ในปี พศ. ๒๕๔๒ – ๒๕๔๕ จึงดูเหมือนเป็นพระเครื่องใหม่ อายุพระไม่เกิน ๑๐ ปี ความนิยมในท้องตลาดพระเครื่อง ยังมีไม่มาก มีเฉพาะกลุ่มลูกศิษย์ที่เคารพศรัทธา แต่ก็มีแนวโน้มกลุ่มลูกศิษย์มากขึ้น จากปากต่อปากของผู้บูชาพระเครื่องหลวงปู่ ที่พบประสบการณ์เหนือธรรมชาติ
สาเหตุที่ท่านอนุญาติให้สร้างพระเครื่อง ในช่วงบั้นปลายชีวิตนั้น เพราะยุคแรก ๆ นั้น ท่านใช้เวลาส่วนใหญ่ ในการออกธุดงค์ไปในป่าดงดิบ และธุดงค์ไปแดนพุทธภูมิ ในต่างประเทศ หลายสิบๆปี จึงไม่ได้ทำวัตถุมงคลออกมาเพื่อให้ชาวบ้านบูชาไว้ยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้เป็นคนดีมีศีล และรวมถึงหารายได้มาสร้างวัดซ่อมอุโบสถ บำรุงเสนาสนะให้ดำรงคงอยู่ สืบสานวัฒนธรรมประเพณี อันดีงามในแผ่นดินสยาม วัดวาอาราม เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้คนรุ่นหลัง ได้กระทำแต่ความดี ละความชั่ว และขัดเกลาจิตใจคนรุ่นใหม่ ให้อ่อนโยน มีเมตตาธรรม สร้างสรรค์สังคม หลีกเลี่ยงพฤติกรรม สร้างเสื่อมสังคม.. หากไม่มีวัด ก็ไม่มีพระ หากไม่มีพระ คนรุ่นใหม่ก็ย้าย ศาสนาไปเป็นคริสต์จักรกันหมด แล้วพุทธศาสนาก็จางหายไปตามกาลเวลา..
หลวงปู่หมุน ท่านไม่ยึดติดลาภยศสมณศักดิ์ ท่านเป็นพระสงฆ์ สายพระป่าที่เคร่งกรรมฐานอย่างแท้จริง ท่านใดที่มองหา พุทธคุณทางด้านอิทธิปาฎิหาริย์, แคล้วคลาดอายุยืน, โชคลาภเสริมดวง และเมตตาบารมี ที่สามารถสัมผัสพุทธคุณในพระเครื่องได้ เป็นความเชื้อส่วนบุคคล จนกว่าท่านจะได้..
คำอาราธนา คาถาบูชาหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
นะโมพุทธายะ ยะจงได้จงมี พุทธะปฏิเสวาโส ปติเสวามิ
หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล มหาลาโภ ปูเชมิ
มะอะอุ อุอะมะ
ตัวกูลูกพระพุทธองค์ ครูสิทธิ์ครูธงองอาจ ไม่ประมาทครู
พบรอยก้มดู เจอครูก้มกราบ
เครื่องสักการะบูชาหลวงปู่หมุน
ธูป เทียน ดอกไม้ หลวงปู่หมุนท่านใช้ชีวิตอย่างสมถะเรียบง่าย อาหารที่ท่านชื่นชอบก็เป็นอาหารทางภาคอีสานทั่วๆ ไป โดยเฉพาะ ข้าวเหนียว ปลาดุกย่าง น้ำปลา โอวัลตินร้อน น้ำโค้ก หมากพลู ฯลฯ
Cr : ที่่มาบางส่วน (หนังสือ อมตะเถระ ๕ แผ่นดิน)